Candy Candy
Candy Candy
Candy Candy
Candy Candy
Candy Candy

Candy Candy

การ์ตูนโรแมนติคแนว Cinderella Complexที่เป็นขวัญใจของเด็กสาวช่างฝันในยุค 70\'sตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ครั้งแรกในนิตยสาร Nakayoshi ระหว่างปี ค.ศ.1975-1979 ก่อนจะรวมพิมพ์เป็นเล่มจำนวน 9 เล่มจบ โดยสำนักพ

  • ราคาไม่ระบุ

จำนวนสินค้า

แชร์สินค้านี้
  • facebook
  • twitter
  • google
บางกอกบุคคลัภย์

                                      –    อีกทางเลือกสร้างสรรค์ เพื่อการสะสม   —   ก่อนเป็น บางกอกบุคคลัภย์  หลังจากเริ่มต้นทำหลังจากเริ่มต้นทำความรู้จักและหัดซื้อหนังสือเก่าเป็นเล่มแรกเมื่อต้นปี 2546   โลกในยามว่างของ นักอ่าน คนหนึ่งก็ดูจะเปลี่ยนแปลงไปจากโลกที่คุ้นเคยโดยสิ้นเชิง    แผงพระเครื่องและโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านที่เคยแวะเวียนไปเสมอ ๆ  ก็กลับห่างเหินอย่างน่าใจหาย   ชุด CD ของ Ry Cooder และ Art Tatum ที่เคยหยิบจับขึ้นมาชื่นชมแทบไม่เว้นวัน  ก็ถูกทิ้งให้เปลี่ยวดายอยู่บนชั้นวาง  แหล่งเดียวที่จะพบ นักอ่าน คนนั้นในยามว่างได้  กลับกลายเป็น  กองหนังสือเกรอะคราบฝุ่นในร้านหนังสือเก่า ๆ - - ร้านใดร้านหนึ่ง ที่ นักอ่าน คนที่ว่าบังเอิญผ่านไปพบเจอ   ความร้อนอุดอู้ในร้านหนังสือเก่าดูจะมีเสน่ห์ยวนใจกว่าความเย็นฉ่ำสดชื่นใน Major Cineplex   คราบฝุ่นเลอะดำที่เปื้อนมือจากการรื้อค้นหนังสือ  ก็ดูจะน่ารักน่าใคร่กว่าคราบเกลือจากการล้วงกำ Pop Corn บนเก้าอี้บุนวม   กว่าจะรู้ตัวอีกที - -  หนังสือเก่า 1 เล่ม เมื่อต้นปี 2546 ก็ผลิดอกออกช่อกลายเป็นหนังสือกว่าหมื่นเล่มกองเต็มบ้านในกลางปี 2547    เมื่อวันทั้งวัน และคืนทั้งคืน ล้วนแล้วแต่แวดล้อมไปด้วยหนังสือ  ความคิดเรื่อง การมีร้านหนังสือเป็นของตัวเอง  จึงค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นทีละน้อย   ยิ่งเมื่อได้แรงยุจาก Used and Rare งานเขียนของ Nancy และ Lawrence Goldstone  ที่เล่าเรื่องการผจญภัยในร้านหนังสือเก่าได้น่ารักน่าชัง  กับ Book Row  หนังสือเล่มโตของ Marvin Mondlin กับ Roy Meador  ที่บอกเล่าวิถีชีวิตของร้านหนังสือเก่าบน 4th Avenue   แห่งมหานครนิวยอร์คไว้อย่างสุดแสนโรแมนติค   รู้ตัวอีกที  นักอ่าน คนนั้น  ก็ได้มายืนปัดฝุ่นหนังสืออยู่ใน บางกอกบุคคลัภย์ ร้านหนังสือเล็ก ๆ ร้านนี้เสียแล้ว       ทำไมต้อง บางกอกบุคคลัภย์ ชื่อร้านที่ดูยืดยาวและเฉิ่มเชยเกินความจำเป็นนี้  ได้มาจากเงื่อนไข 2-3 ข้อ ที่เจ้าของร้านกำหนดขึ้นเองตอนคิดชื่อร้าน (1)  ชื่อร้านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องเป็นชื่อเดียวกัน  แม้เขียนต่างภาษา  แต่ต้องอ่านออกเสียงเหมือนกัน (2)  เมื่อเขียนชื่อภาษาไทย  ต้องเป็นคำที่ดูเป็นไทย และมีความหมายในภาษาไทย  ในทำนองเดียวกัน เมื่อเขียนชื่อภาษาอังกฤษ ก็ต้องเป็นคำที่มีความหมายในภาษาอังกฤษ   แต่ทั้งสองชื่อต้องมีความหมายเดียวกัน  (3)  ความหมายของชื่อร้านต้องเกี่ยวพันกับหนังสือ  คนที่ไม่เคยรู้จักร้าน  เมื่อเห็นชื่อร้านก็พอเดาได้ว่าเป็นร้านหนังสือ  และถ้าเป็นชื่อที่มีนัยเกี่ยวพันถึงอาชีพประจำของเจ้าของร้านด้วยก็ยิ่งดี   หลังจากนั่งคิดนอนเลือกอยู่สองสัปดาห์และคัดชื่อทิ้งไปหลายสิบชื่อ  ชื่อยาว ๆ ชื่อหนึ่งที่ฟังดูโบราณเกินกว่าจะมีใครเอามาใช้เป็น URL ในโลกออนไลน์ได้ ก็ดูโดดเด่นขึ้นมา    ลองอ่านออกเสียงก็ฟังก็ดูเข้าเค้า - - เหมือนมี Rhyme อยู่ในชื่อนั้นด้วย   “บาง-กอก-บุก-คะ-ลับ / bang-kok-book-club” - - -  อืมม   บุคคลัภย์  นั้น เป็นคำที่กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยทรงบัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า Bookclub ในภาษาอังกฤษ และได้ใช้เป็นชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของคนไทยที่เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี 2447  ทั้ง "ความ" และ "เสียง" สอดคล้องกับเงื่อนไขที่ตั้งไว้   เมื่อผนวกเข้ากับ บางกอก ก็ได้ชื่อร้านที่เขียนเป็นสองภาษาได้อย่างไม่ขัดเขิน  และได้บรรยากาศโบราณแบบเชย ๆ ตามความประสงค์เจ้าของร้าน   หลังจากนำชื่อนี้ไปสอบถามความเห็นจากบรรดาคนใกล้ตัว  และได้รับการตอบรับด้วยอาการขมวดคิ้วและส่ายหัวอย่างพร้อมเพรียงตามความคาดหมาย    ชื่อ บางกอกบุคคลัภย์ ก็ถูกนำไปจดทะเบียน URL และ e-commerce โดยพลัน   และ บางกอกบุคคลัภย์ ก็ถือกำเนิดในโลกออนไลน์นับแต่นั้น       ก่อนวันเปิด บุคคลัภย์     แม้ บางกอกบุคคลัภย์ จะจดทะเบียน URL ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2547   แต่ร้านก็ไม่ได้เริ่มเปิดทำการในทันที  ด้วยเจ้าของร้านมัวแต่เอ้อระเหยจัดร้านอยู่นั่นแล้ว    และแทนที่จะใช้เวลาจัดหนังสือในส่วนที่จะจำหน่าย  ก็มัวไปจัดหนังสืออยู่แต่ในส่วนนิทรรศการ  ซึ่งตั้งใจจะให้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ผ่านไปผ่านมาได้ทำความรู้จักกับหนังสือที่ควรค่าแก่การสะสม   ข้อมูลที่ว่าก็ค่อย ๆ ค้นไปเติมไป โดยอาศัยเวลาว่างหลังเลิกงานวันละเล็กละน้อย   และตั้งใจจะต่อเติมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเสร็จหมดทุกนิทรรศการ    หลังจากนั้นถึงจะจัดหนังสือที่จะจำหน่ายลงให้ครบทุกหมวดหมู่   เมื่อจัดการทุกอย่างพร้อมหมดแล้วถึงจะเปิดร้านให้บริการ     จนถึงกลางปี 2548   มีเพียงนิทรรศการเดียวที่ทำเสร็จ  ส่วนนิทรรศการอื่นลงภาพหนังสือได้บางส่วน  แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ   กำลังคิด ๆ อยู่ว่า ระยะเวลาเตรียมร้านที่กะไว้ 1 ปี อาจจะต้องเลื่อนออกไปอีกซัก 6 เดือน    แต่เจ้าของร้านประเมินศักยภาพของ search engine ในโลกออนไลน์ต่ำเกินไป    ร้าน บางกอกบุคคลัภย์ ซึ่งพยายามซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบเชียบ  เริ่มมีผู้แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโดยไม่คาดหมาย   และหนึ่งในนั้น คือ สหายฮุย จาก ร้านสุหนังสือเก่า  ซึ่งไม่เพียงแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนเป็นกำลังใจ  หากยังเอื้อเฟื้อทำ Link ให้ถึงหน้าร้านอีกต่างหาก    สะพานเชื่อมจาก ร้านสุหนังสือเก่า  นำพาผู้คนมากหน้าหลายตาเข้ามายืนอออยู่หน้าร้านจนแน่นขนัด   หลายคนยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกของร้านทันที  ทั้งที่ในร้านยังไม่มีหนังสืออะไรจำหน่ายเลยสักเล่ม  หลายคนเดินดูบรรยากาศรอบร้าน แล้วเอ่ยปากอยากสนับสนุน  หลายคนส่งยิ้มให้เป็นกำลังใจโดยไม่พูดอะไร  แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เจ้าของร้านรู้สึกละอายใจ  และอยากจะทำอะไรที่มากกว่าเพียงการก้มหน้าก้มตาจัดห้องนิทรรศการต่อไปอย่างไม่รู้ไม่ชี้   ในที่สุด  เจ้าของร้านตัดสินใจยุติการจัดห้องนิทรรศการไว้ก่อน  และเริ่มจัดหนังสือที่จะให้บริการจำหน่ายลงร้านตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2548   และนั่นคือวันเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการของ บางกอกบุคคลัภย์   บุคลิกแบบ บุคคลัภย์     กิจการร้านหนังสือ บางกอกบุคคลัภย์  เป็นเพียงงานอดิเรกในยามว่างของเจ้าของร้าน (ซึ่งมีภารกิจประจำเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินภาครัฐแห่งหนึ่ง)  การดำเนินกิจการของร้านจึงขึ้นอยู่กับ “เวลาว่าง” (ซึ่งหาได้ยากเต็มที) ของเจ้าของร้านเป็นสำคัญ    และส่งผลให้เกิดบุคลิกเฉพาะตัวของร้านบางประการ ดังนี้    (1)  ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนในการจัดหนังสือลงร้าน  ว่างเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น   บางคราวไม่ลงหนังสือเลยเป็นเดือนเพราะเจ้าของร้านไม่มีเวลาว่าง ก็มีให้เห็นออกบ่อย    (2)  แม้จะพยายามจัดหนังสือลงร้านอย่างเต็มกำลัง  แต่เนื่องจากหนังสือส่วนใหญ่ถูกจำหน่ายออกไปแทบจะในทันทีที่ลงร้าน   จึงมีหนังสือหลงเหลือในร้านน้อยเล่มเต็มที  และความฝันของเจ้าของร้านที่จะจัดหนังสือลงให้ครบทุกหมวด  จึงยังคงเป็นเพียงความฝันอันเลื่อนลอยต่อไป   (3)  ด้วยเจ้าของร้านต้องปฏิบัติภารกิจประจำระหว่างวัน   ทางร้านจึงไม่สามารถจัดส่งหนังสือได้ทันทีที่ได้รับแจ้งการโอนเงิน แต่จะจัดส่งได้ภายในวันรุ่งขึ้นเป็นอย่างเร็ว - - หากการจัดส่งหนังสืออย่างรวดเร็วเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับท่าน  การใช้บริการจาก บางกอกบุคคลัภย์ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เงื่อนไขการจัดส่งหนังสือข้างต้น  อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับเวลาว่างของเจ้าของร้าน  โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้า วิธีการชำระเงิน อีกครั้งหนึ่ง   บางกอกบุคคลัภย์ กับหนึ่งปีที่ผ่านไป       หนึ่งปีที่ผ่านมา  เป็นหนึ่งปีที่เจ้าของร้านมีเวลานอนน้อยที่สุดนับแต่ลืมตาขึ้นมาดูโลก  บางคราวเลิกงานกลับถึงบ้านเกือบเที่ยงคืน  ต้องนั่งห่อหนังสือถึงเช้าแล้วออกไปทำงานต่ออีก  หากปล่อยให้เหตุการณ์ดำเนินต่อไปในรูปนี้  ไม่ร้านก็เจ้าของร้านคงต้องจบเห่ก่อนเวลาอันควรโดยมิพักต้องสงสัย   ย่างก้าวขึ้นสู่ปีที่สอง  บางกอกบุคคลัภย์ จึงตั้งข้อปวารณาที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองในบางประการ ดังนี้    (1)  ยอมรับความจริงว่าตัวเองมีข้อจำกัดทั้งด้านอัตรากำลังและเวลา  ไม่สามารถแข่งขันด้านความรวดเร็วในการจัดส่งหนังสือกับใครอื่นได้  และจัดตารางเวลาในการทำร้านให้เหมาะสมกับเวลาว่างที่มี  ไม่ใช่เอาเวลาที่ควรพักผ่อนมาทำร้านอย่างหนึ่งปีที่ผ่านมา  จนมีผลกระทบทั้งกับงานประจำและสุขภาพ (2)  จำหน่ายหนังสือแต่น้อย  และใช้เวลาไปเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนิทรรศการ บทความ และ webboard ให้มากขึ้น   เพื่อให้ร้านมีข้อมูลถาวรที่อาจเป็นประโยชน์ในวงกว้าง  มากกว่าการจำหน่ายหนังสือไม่กี่เล่มที่อาจเป็นประโยชน์เพียงวงจำกัด บางกอกบุคคลัภย์ ปีสอง อาจไม่ใช่ร้านหนังสือในแบบที่นักอ่านทั่วไปคาดหวังจะเห็น  แต่จะเป็นร้านหนังสือในแบบที่เจ้าของร้านอยากเห็น  เราจะฝืนตัวเองน้อยลง  และทำสิ่งที่สะท้อนตัวตนของเจ้าของร้านมากขึ้น  (3)  หาเวลาพักผ่อนให้มากขึ้น  ท่องเที่ยวและทำกิจกรรมนอกบ้านให้มากขึ้น   ปล่อยกองหนังสือที่บ้านให้มันพอกพูนเติบโตไปตามธรรมชาติ  หากมันจะทะลุหลักสามหมื่นเล่มในปี 2550  (ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นเช่นนั้น) - -   -    -  ก็ช่างมันเถอะ     (12 สิงหาคม 2549)    บางกอกบุคคลัภย์  ขอขอบคุณ... ♥ ร้านสุหนังสือเก่า ผู้พิสูจน์ให้เห็นเป็นเจ้าแรกว่า "ร้านหนังสือมือสอง online" เป็นธุรกิจที่เป็นไปได้  หากตั้งใจทำด้วยความจริงใจ  โปร่งใส และซื่อสัตย์ ♥ เฮียเก๋า  ผู้เฒ่าอารีแห่งร้านหนังสือแสงเจริญ  พ่อค้าอะไร...ใจดี๊...ใจดี  ♥ อำนวย  จริงจิตร  กัลยาณมิตรผู้จริงใจ และบรรณาธิการหนุ่มไฟแรงแห่งสำนักพิมพ์ "คอหนังสือ" ♥ Professor Jenny Edwards แห่ง University of Technology, Sydney  เจ้าของผลงานภาพถ่ายร้านหนังสือเก่าแห่ง San Gines ที่สุดแสนจะโรแมนติคด้านบน 

เข้าชมร้านค้า

รายละเอียด


การ์ตูนโรแมนติคแนว Cinderella Complex ที่เป็นขวัญใจของเด็กสาวช่างฝันในยุค 70\'s ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ครั้งแรกในนิตยสาร Nakayoshi ระหว่างปี ค.ศ.1975-1979 ก่อนจะรวมพิมพ์เป็นเล่มจำนวน 9 เล่มจบ โดยสำนักพิมพ์ Kodansha

ภาคภาษาไทย ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในนิตยสาร "เลดี้" ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนขนาด 8 หน้ายก เมื่อช่วงต้นยุค \'80s ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น "แคนดี้" โดยทีมงานชุดเดิม หลังจากนั้นก็มีการพิมพ์ในขนาด pocket-book ทั้งปกอ่อน-ปกแข็ง โดยอีกหลายสำนักพิมพ์

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ

Candy Candy
Candy Candy
ไม่ระบุ
ติดต่อร้านค้า