พระกริ่งพุทธญาณนเรศวร์ เนื้อนวะโลหะ วัดญาณสังวร กริ่งรุ่นแรกที่ออกที่วัดญาณฯ ปี 29 (เช่าบูชาไปแล้ว)

พระกริ่งพุทธญาณนเรศวร์ เนื้อนวะโลหะ วัดญาณสังวร กริ่งรุ่นแรกที่ออกที่วัดญาณฯ ปี 29 (เช่าบูชาไปแล้ว)

พระกริ่งพุทธญาณนเรศวร์ เนื้อนวะโลหะ วัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี นับเป็นกริ่งรุ่นแรกที่ออกที่วัดญาณสังวราราม งามสุด ๆ พร้อมกล่องครับ องค์นี้

  • ราคาไม่ระบุ

จำนวนสินค้า

สินค้าหมด
แชร์สินค้านี้
  • facebook
  • twitter
  • google
ร้านอุดมมงคลพระเครื่อง ย้ายไปที่ www.udommongkol.com แล้วนะครับ....ขอบคุณมากๆ ครับ

เข้าชมร้านค้า

รายละเอียด

        พระกริ่งพุทธญาณนเรศวร์ เนื้อนวะโลหะ วัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี นับเป็นกริ่งรุ่นแรกที่ออกที่วัดญาณสังวราราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก  ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาประธานประจำอุโบสถ ได้รับการถวายพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์" สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

  

 

ประวัติวัดญาณสังวราราม


  วัดญาณสังวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สังกัดธรรมยุตินิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นองค์ประธานจัดสร้างวัด เมื่อปี ๒๕๑๙ นายแพทย์ขจร และคุณหญิงนิธิวดี อันตระการ พร้อมด้วยบุตรธิดา ได้ถวายที่ดินแด่สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ที่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภทบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ 3ไร่เศษ ต่อมา คณะผู้ริเริ่มสร้างวัดได้ร่วมกันจัดซื้อที่ดินที่ติดต่อเขตวัดถวายเพิ่มเติมอีกประมาณ ๖๐ ไร่เศษ รวมเป็นเนื้อที่ดินทั้งหมด ๓๖๖ ไร่ ๒ งาน ๑๑ ตารางวา เพื่อขอให้สร้างวัด และขอใช้ชื่อว่า "วัดญาณสังวราราม" การสร้างวัดได้ดำเนินการมาโดยลำดับ
วัดญาณสังวราราม ได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ญาณสังวราราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสร้างเป็นงวดจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับการประกาศตั้งชื่อเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้รับพระราชทานวิสุงดามสีมา ตามพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๔๓)
  ในปัจจุบัน วัดญาณสังวรารามมีเนื้อที่รวมทั้งหมด ๓๖๖ ไร่ ๒ งาน ๑๑ ตารางวา ไม่รวมถึงพื้นที่โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่ โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รักษาการเจ้าอาวาส
  การสร้างวัดญาณสังวราราม มีจุดมุ่งหมายให้เป็นสำนักปฏิบัติ คือ เน้นทางด้าน สมถและวิปัสสนาและเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ในทางการศึกษาอบรมพระธรรม วินัย รวมทั้งพื่อให้เป็นที่ยังประโยชน์ในการบำเพ็ญอเนกกุศลต่าง ๆ ด้วย
เนื่องจากวัดญาณสังวราราม สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ อันเป็นสมัยที่ยอมรับทั่วไปว่า ความร่มเย็นเป็นสุขของไทย เกิดแต่พระบุญญาธิการแห่งองค์สมเด็จพระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแท้ และสืบเนื่องต่อขึ้นไปถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จบุรพบรมกษัตริยาธิราชเจ้า อีกสองพระองค์ พระผู้ทรงกอบกู้ไทยให้กลับเป็นไท สมัยที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช

พุทธสถาน/ถาวรวัตถุ/สถานที่สำคัญ
วัดญาณสังวราราม ได้วางแผนผังและรูปแบบในการสร้างวัด โดยแบ่งพื้นที่เพื่อความเป็น ระเบียบเรียบร้อย เป็น ๔ เขต คือ

  • เขตที่ ๑ เขตพุทธาวาส เป็นสถานที่ตั้งปูชนียสถาน โบราณวัตถุ มีพระอุโบสถ พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ พระมหามณฑปพระพุทธบาท ภปร.สก. ศาลาอเนกกุศล สว.กว. และศาลาอเนกกุศลมวก.สธ. เป็นต้น
  • เขตที่ ๒ เขตสังฆาวาส แบ่งเป็นสองส่วน คือ พื้นที่ส่วนล่างและพื้นที่ส่วนบน ประกอบด้วยพื้นที่เขาชีโอนและเขาชีจรรย์ และทั้ง ๒ พื้นที่ ใช้เป็นสถานที่ ก่อสร้างเสนาสนะกุฏิน้อยใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ สามเณร เป็นต้น
  • เขตที่ ๓ เขตโครงการพระราชดำริ เป็นสถานที่โครงการพระราชดำริ มีเรือนรับรอง อ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรกรรม โรงพยาบาล ศูนย์การฝึกอบรมพิเศษ วนอุทยาน บริเวณอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ เป็นต้น
  • เขตที่ ๔ เขตอุบาสกอุบาสิกา เป็นสถานที่ตั้งศาลาโรงธรรม ที่พักอาศัยของ บรรดาพุทธศาสนิกชน ผู้มาอยู่ประพฤติธรรม รักษาศีลฟังธรรม ปฏิบัติจิตภาวนาเป็นต้น

1. พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 13.30 เมตร ยาว 21.00 เมตร ลักษณะทรงจีน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ หน้าบันลายปูนปั้น สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบรีมหาราช โดยดัดแปลงจากแบบพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2523
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงตัดลูกนิมิตพระอุโบสถ ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และทรงวางศิลาพระฤกษ์พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2525 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 

2.พระพุทธปฏิมาประธานประจำอุโบสถ ได้รับการถวายพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์" สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีขนาดประมาณองค์พระพุทธชินสีห์ในประอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร หน้าพระเพลา 5 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางเททองหล่อ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2523 ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร

3.พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระบรมราชวงศ์จักรี มีฐานกว้าง 39.00 เมตร สูง 39.00 เมตร ได้เริ่มดำเนินการสร้างมาตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2524 ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ เพื่อการบำเพ็ญกุศลต่างๆ ชั้นที่สองประดิษฐานพระเจดีย์ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีชนวนจากพื้นปฐพีถึงที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ด้านนอกชั้นที่สามมีซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือ พระภปร.ด้านหน้า พระไพรีพินาศ(ด้านขวาของพระภปร. ) และพระชินราชสีหศาสดา (ด้านซ้ายของพระภปร.) ส่วนชั้นที่ 2 เป็นซุ่มตราพระมหาจักรีซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอันเชิญขึ้นประดิษฐานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2528
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน2525
พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ มีความหมายว่า "พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุเพื่อ ความพิพัฒนาสถาพรแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์" น้อมเกล้าฯ ถวายพระบรมราชวงศ์จักรี มีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นองค์ปฐม และสมเด็จพระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร รามาธิบดีจักรีนฤาดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถพิตร รัชการที่ 9 เป็นองค์ปัจจุบัน

4. พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร.สก. มีขนาดกว้าง 9.00 เมตร สูง 33.00 เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก. ประดิษฐานที่องค์พระมหามณฑป 
พระมหามณฑปพุทธบาทนี้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างบนพื้นที่ยอดเขา (เขาดินเดิม) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ทรงมณฑป ชั้นล่างแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นที่อยู่อาศัยของสงฆ์ ตอนที่ 2 เป็นถังเก็บน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค ชั้นบนเป็นส่วนของอาคาร ที่จะประดิษฐานรอบพระพุทธบาทคู่ องค์พระมณฑปประดับด้วยโมเสกสีทองจรดยอด ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโมเสกสีทอง ซึ่งรื้อมาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม บริเวณพื้นองค์มณฑปปูด้วย หินแกรนิตไทย กำแพงแก้วทำหินล้างสีขาว ราวบันไดพญานาคขึ้นลงมณฑปประดับด้วยกระเบื้อง เคลือบเกล็ดพญานาคสีขาว ขั้นบันได 200 ขั้น ปูด้วยหินแกรนิตไทย ช่วงล่างของบันไดพญานาคสร้างศาลาทรงไทย 2 หลัง เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญองค์ใหญ่ 2 องค์ พื้นที่จากเชิงเขาถึงบริเวณสร้างมณฑปพระพุทธบาท มีประมาณ 35 ไร่เศษ โปรดเกล้าฯ ให้อนุรักษ์ธรรมชาติเดิมไว้ และโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกต้นไม้สำคัญทางพระพุทธศาสนา ให้เต็มพื้นที่จากส่วนที่มีอยู่แล้วและรอบบริเวณเขาชั้นล่าง 
ศิลาที่สลักรอยพระพุทธบาทนี้เป็นหินแกรนิต มีขนาดกว้าง 1.70 เมตร ยาว 2.00 เมตร หนา 2.90 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 35 ตัน ได้นำมาจากป่าสวนยาง ข้างวัดซากไทย จังหวัดจันทบุรี บริษัทวิศวโยธาฯ (เขาชีจรรย์) จำกัด จัดถวาย ได้รับความอนุเคราะห์การขนส่งจาก ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบจากจังหวัดจันทบรีมาถึงวัดญาณสังวราราม ส่วนการนำหินขี้น ประดิษฐาน ณ มณฑปพระพุทธบาทนั้น กรมชลประทานเป็นผู้ดำเนินการ เจ้าพระคุณสมเด็จ พระญาณสังวร มอบหมายให้อาจารย์โหมด ว่องสวัสดิ์ ออกแบบแกะสลักและควบคุมการ แกะสลักจนแล้วเสร็จเป็นรอยพระพุทธบาทคู่ พร้อมทั้งพระสาวก 80 องค์ ลงรักปิดทองงามตระการตาอย่างยิ่ง
พลับพลารับเสด็จฯ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการใช้ต้นมะพร้าวเป็นเสา โครงหลังคงไม้มุงแฝก ให้เป็นพลับพลารับเสด็จชั่วคราว สมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ทรงวางศิลาพระฤกษ์สร้างพระมหามณฑปพระพุทธบาท ภปร.สก. และทรงปฏิบัติพระราชกิจตาม โครงการพระราชดำริ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของมณฑป ชำรุดไปตามสภาพ จึงสร้างศาลาทรงไทยแบบจตุรมุขไว้ ณ ที่พลับพลาเดิม เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึก ถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงโปรดพระราชทานแก่วัดญาณสังวรารามสืบต่อไป
พระมหามณฑปพระพุทธบาท ภปร.สก. สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณล้นกระหม่อมต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า

5.พระวิหารพระศรีอริยเมตไตรย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ลักษณะทรงจตุรมุข หลังคามุงกระเบื้อง สร้างเป็นแบบศิลปไทยแท้อันปราณีตบรรจง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ทองเหลือง ปางสมาธิ พระนามว่า พระพุทธศรีอริยเมตไตรย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับ น้อมเกล้าถวายจากคณะผู้สร้าง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญไปประดิษฐานในพระวิหารพระศรีอริยเมตไตรยแห่งนี้

6.อริยาคาร เป็นที่แสดงหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนของ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่เป็นที่เคารพบูชา ของคนไทยตั้งแต่อดีต เช่น หลวงพ่อโต, พระอาจารย์มั่น, หรือหลวงปู่แหวน เป็นต้น อยู่ในท่านั่งวิปัสนากรรมฐาน

7.ศาลาอเนกกุศล สว.กว. เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กว้าง 17.00 เมตร ยาว 31.00 เมตร น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาพระฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2526 ใช้เป็นศาลาสำหรับถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร
พระพุทธปฏิมา อปร.มอ. ประจำศาลาอเนกกุศล สว.กว. สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่8 แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระ ปรมาภิไธยย่อ "อปร." ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระนามาภิไธยย่อ "มอ." ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประดิษฐานที่ผ้าทิตย์ "อปร.มอ." เป็นพระปางสมาธิแบบพระ ภปร. หน้าพระเพลา 5 ศอก 1 คืบ 8 นิ้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2526 ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร

8. ศาลาอเนกกุศล มวก.สธ. มีขนาดกว้าง 17.40 เมตร ยาว 21.00 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ชั้นล่างแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 จัดเป็นห้องเก็บวัสดุ ตอนที่ 2 ซึ่งอยู่ใต้ฐานชุกซีพระพุทธไพรีพินาศ จัดเป็นถังเก็บน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค ตอนที่ 3 จัดเป็นห้องเรียนพระปริยัติธรรมและห้องสมุดวัด ชั้นบนพื้นปูหินอ่อนไทย เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธไพรีพินาศ ใช้เป็นที่สวดมนต์ทำวัตรค่ำ อบรมกัมมัฎฐานเจริญจิตภาวนา เป็นต้น
สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไป ทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2527
พระพุทธไพรีพินาศ สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชกุศลสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ประจำศาลาอเนกกุศล มวก.สธ. หน้าพระเพลา 4 ศอก 1 คืบ 8 นิ้ว เป็นพระจำลองแบบพระพุทธไพรีพินาศ ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ทักษิณชั้นบนพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2527ณ บริเวณมณฑลพิธี หน้าพระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร และต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เททองหล่อพระพุทธรูปปางรำพึง มวก. และพระพุทธรูปปางนาคปรก สธ. ประดิษฐานไว้ที่ฐานชุกชีพระพุทธไพรีพินาศ ด้านขวา-ซ้าย ที่ศาลาอเนกกุศลมวก.สธ.ด้วย

9. ศาลาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นศาลาอเนกประสงค์ สูง ๓ ชั้น สร้างถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา ในปีพ.ศ. ๒๕๓๓

10. ห้องสมุด ศ.แพทย์หญิง ม.ร.ว.ส่งศรี เกษมศรี เกตุสิงห์

11.เจดีย์พุทธคยา 

12.พระตำหนักทรงพัฒนา ประกอบด้วยพระตำหนัก ๔ หลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัด เยื้องกับพระบรมธาตุเจดีย์ไปทางทิศเหนือเล็กน้อย สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบ สำหรับเป็นที่เสด็จประทับปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามพระราชอัธยาศัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528

13.หอพระไตรปิฎก 

14.เทวาลัยท่านท้าววิรุฬหกมหาราชพุทธบัณฑิต เป็นสถานที่ประดิษฐานท้าวจตุโลกบาล วิรุฬหกมหาราชพุทธบัณฑิต ในอุทยานเทวาลัยมหาราชพุทธบัณฑิต 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม พระรูปท่านท้าว วิรุฬหกมหาราชทั้งสองพระรูป แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่หน้าบันทั้งสองข้าง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 สร้างถวายกุศลท่านท้าววิรุฬหกมหาราชโลกบาล ผู้รักษาโลกทิศเบื้องใต้ อันมีสยามประเทศรวมอยู่ด้วย
ศาลาท่านท้าวริรุฬหรมหาราชพุทธบัณฑิต มีขนาดกว้าง 14.00 เมตร ยาว 24.00 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สำหรับเป็นที่พักอาศัยของพุทธศาสนิกชน ผู้มาประพฤติปฏิบัติรักษาศีลฟังธรรมและเจริญจิตภาวนาระยะสั้น 3 - 7 วัน

15.ศาลานานาชาติ หรือศาลามังกรเล่นน้ำ สร้างโดยพระราชปรารภของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการบริจาคของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศที่มุ่งเทิดทูนพระบุญญาธิการแห่งสมเด็จพระภัทรมหาราช พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปีพ.ศ. 2530 กับทั้งเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพรต่อไป
ศาลานานาชาติ เป็นศาลาที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมประจำชาติของแต่ละชาติ ซึ่งต่างได้จัดสรรงบประมาณมาก่อสร้างศาลานานาชาติ และอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า "ศาลามังกรเล่นน้ำ" ศาลาดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองบ้านอำเภอ มีรูปมังกรเล่นน้ำเป็นสัญลักษณ์ประจำศาลา แต่ละชาติ ซึ่งมีความหมายว่า น้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วย พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ล้นกระหม่อมแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ศาลามังกรเล่นน้ำ ทั้งหมด 6 ชาติ รวม 7 ศาลา คือ
1. ศาลาไทยล้านนา และศาลาไทยภาคกลาง ของชาติไทย
2. ศาลาจีนนอก ของชาติสิงคโปร์
3. ศาลาจีนใน ของพสกนิกรชาติไทย
4. ศาลาญี่ปุ่น ของชาติญี่ปุ่น
5. ศาลาฝรั่ง ของชาติสวิตเซอร์แลนด์
6. ศาลาอินเดีย ชองชาติอินเดีย
การก่อสร้างศาลานานาชาติ สมเด็จพระญาณสังวร ได้ทรงวางศิลาฤกษ์สร้างศาลาไทยล้านนา เป็นหลังแรก เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2529

16.โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียงแบบชั้นเดียว ประกอบด้วยบ้านพักนายแพทย์และพยาบาล พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่แผนกต่าง ๆ รวม 4 หลัง ได้มีผู้มารับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องไม่ขาด นับตั้งแต่วันที่เสด็จพระราชดำเนินทรง เปิดโรงพยาบาลเป็นต้นมา
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลารากฐานสร้างโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2526 ซึ่งเป็นวโรกาศที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุขึ้นปีที่ 84 ด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดโรงพยาบาลพร้อมด้วยสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 27มิถุนายน 2527

17.อาคาร ญส. 72 (ญสส. สมเด็จพระญาณสังวร) สร้างขึ้นในโอกาสที่ สมเด็จพระญาณสังวรเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 3ตุลาคม 2528 เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น 20 ห้อง สำหรับอาศัยอยู่เพื่อประพฤติปฏิบัติธรรมของฝ่ายอุบาสิกา และต่อมาได้จัดสร้างอาคาร ญส. ตึกชาย ลักษณะเช่นเดียวกัน ขนาด 20 ห้อง เพื่ออยู่อาศัยประพฤติปฏิบัติธรรมฝ่ายอุบาสกขึ้นอีก 1 หลัง ที่เขตอุบาสกอุบาสิกา
สมเด็จพระญาณสังวร ทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร ญส. ตึกหญิง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2529 และในโอกาสเดียวกันนีได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างอาคาร ญส. ตึกชาย ด้วย

18.ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรารามเพื่อผู้สูงอายุ 

19.ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม

20.โรงเรียนผู้รู้ ญสส.๘๐

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เป็นโครงการอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริส่วนหนึ่ง ในจำนวนหลายโครงการของวัดญาณสังวราราม ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจะใช้เป็น สถานที่ฝึกอบรม และให้การศึกษาด้านการเกษตรกรรมแก่เยาวชนผู้ยากไร้ โครงการศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียน ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนฝึกอบรม คณะกรรมการสนองงานตาม โครงการพระราชดำริ (ภปร.) ได้จัดให้มีการฝึกอบรมเยาวชนดังกล่าว จำนวน 7 คน เป็นปฐมฤกษ์ ตามพระราชดำริที่ทรงปรารภไว้ โดยขอใช้สถานีวิจัยศรีราชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ในความดูแลฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการศึกษา นอกโรงเรียนและ ภปร. 

21.อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) อเนกกุศลศาลาหรือในนามภาษาจีนว่า ต้า ผู่ อี่ ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยอาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ก่อสร้างขึ้นใน บริเวณโครงการพระราชดำริวัดญาณสังวราราม บนพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ ในการดำเนินงานได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานฤกษ์ใน การก่อสร้าง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2531 กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามอาคารนี้ว่า "อเนกกุศลศาลา" รวมค่าใช้จ่ายใน การก่อสร้างประมาณ 200 กว่าล้านบาทซึ่งได้รับจากการร่วม ใจของคณะผู้มีจิตศรัทธาและบรรดาญาติมิตร ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะได้ อเนก กุศลศาลา เป็นถาวรวัตถุที่ชาวไทยเชื้อสายจีนที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ร่วมใจน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสม เด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ การก่อสร้างใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4 ปีครึ่ง จึงแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอเนกกุศลศาลา เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2536

22.พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาส เป็นพระพุทธรูปแกะสลักที่หน้าผาเขาชีจรรย์ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศโดยรอบวัดญาณสังวราราม เป็นภูเขาสูงหลายลูก เช่น เขาชีโอน เขาชีจรรย์ เขาดิน เป็นต้น โดยเฉพาะเขาชีจรรย์ มีความสูงเด่นสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล 
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงพิจารณาเห็นว่าเหมาะสมที่จะสร้างพระพุทธรูปแกะสลักที่หน้าผา เขาชีจรรย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีนี้ อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างปูชนียสถานทาง พระพุทธศาสนาและเป็นการอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงอยู่ในสภาพที่ควรเป็น
ซึ่งเขาชีจรรย์นี้ มีความสูงประมาณ 169 เมตร มีฐานกว้าง 255 เมตร อยู่ห่างจากวัดญาณสังวรารามฯ ไปทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพของเขาชีจรรย์เดิม ทีมีการขอสัมปทานทำการระเบิดหินเพื่อนำไปใช้งานก่อสร้างมาแล้วช้านาน และส่วนที่เหลือจึงกลาย เป็นหน้าผาหินสูงชัน
หลังจากที่วัดญาณสังวรารามฯและคณะกรรมการโครงการจัดสร้าง พระพุทธรูปแกะสลัก หน้าผาเขาชีจรรย์ได้พิจารณาหาข้อมูล และนำขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แกะสลักพระพุทธรูปที่หน้าฝาเขาชีจรรย์เป็นแบบลายเส้น
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ได้เสร็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี บรวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธ์ก่อนเริ่มโครงการจัดการสร้างพระพุทธรูป ณ. เขาชีจรรย์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2538 
การแกะสลักพระพุทธรูปที่มีชื่อเรียกขานว่า "พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดความสูง 150เมตร หน้าตักกว้าง 100 เมตร ประดิษฐานบนฐานบัว ซึ่งบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ จำกัด จะใช้เวลาดำเนินการแกะสลักหินเขาให้เป็นพระพุทธรูปองค์นี้ประมาณหนึ่งปี งบประมาณในการ ใช้จ่ายนี้บริษัทตั้งไว้ 43,305,800 บาท สามารถมองเห็นชัดแต่ไกลและมีความสวยงามกลมกลืน เข้ากับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

สินค้าที่ใกล้เคียงในร้านนี้

ดูสินค้าทั้งหมด

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ

พระกริ่งพุทธญาณนเรศวร์ เนื้อนวะโลหะ วัดญาณสังวร กริ่งรุ่นแรกที่ออกที่วัดญาณฯ ปี 29 (เช่าบูชาไปแล้ว)
พระกริ่งพุทธญาณนเรศวร์ เนื้อนวะโลหะ วัดญาณสังวร กริ่งรุ่นแรกที่ออกที่วัดญาณฯ ปี 29 (เช่าบูชาไปแล้ว)
ไม่ระบุ
ติดต่อร้านค้า