พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่  กล่องเดิม สวยแชมป์
พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่  กล่องเดิม สวยแชมป์
พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่  กล่องเดิม สวยแชมป์
พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่  กล่องเดิม สวยแชมป์

พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่ กล่องเดิม สวยแชมป์

พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่ กล่องเดิม สวยแชมป์

  • ราคา 3,000.00.-

จำนวนสินค้า

สินค้าหมด
แชร์สินค้านี้
  • facebook
  • twitter
  • google
ร้านอุดมมงคลพระเครื่อง ย้ายไปที่ www.udommongkol.com แล้วนะครับ....ขอบคุณมากๆ ครับ

เข้าชมร้านค้า

รายละเอียด

  พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่  กล่องเดิม สวยแชมป์.....


       สุดยอดของหายากแห่งรัชกาลที่๙ พระรุ่นเดียวที่ผสมพระทนต์(ฟัน) ในหลวงรัชกาลที่๙ เป็นมวลสารหลัก  สารพัดมวลสารดี พิธีเยี่ยม เจตนาบุญกุศล เริ่มที่จะนานๆได้เห็น

 
 
 
 

 

 
 

     สุดยอดของหายากแห่งรัชกาลที่๙ พระรุ่นเดียวที่ผสมพระทนต์(ฟัน) ในหลวงรัชกาลที่๙ เป็นมวลสารหลัก  สารพัดมวลสารดี พิธีเยี่ยม เจตนาบุญกุศล ยิ่งพิมพ์เล็กหายากมากกว่าพิมพ์ใหญ่มาก เริ่มที่จะนานๆได้เห็น ไม่รีบเก็บตอนนี้อาจจะเสียใจในวันหน้า

    ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ใต้ฐานประดิษฐานตรา ภปร.
    ด้านหลังมีตรา ญสส หมายถึงสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพรสังฆราช พร้อมลายมือพระองค์ท่านที่ประทานชื่อรุ่นให้ว่า "ทันโเสฏโฐ" แปลว่า ฝึกตนได้ประเสริฐ หรือจะแปลอีกความหมายว่า ฟันอันประเสริฐก็ได้

   มีพระองค์นี้เสมือนได้ใกล้ชิดทั้งในหลวงและสมเด็จญาณสังวร รุ่นนี้จึงถือว่าเป็นราชาเหนือราชัน เพราะมีทั้งผู้เป็นเอกในทางโลกและทางธรรมในองค์เดียว พร้อมทั้งมวลสารพระราชทานอีกทั้งรวบรวมจากพระผงรุ่นสำคัญและมวลสารมงคลต่างๆ พร้อมอธิษฐานจิตจากครูบาอาจารย์องค์สำคัญต่างๆในยุค ๒๕๓๓ ทั้งประเทศ

 

 

 

ความเป็นมาในการจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.

 

  ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช ยินดีที่มอบชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๙ ชิ้นส่วนพระทนต์องค์กรามน้อยบนซึ่งแตกบิ่นออกมา พร้อมทั้งวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำพระทนต์ ตลอดจนครอบทองที่เคยทำพระทนต์ ไว้ให้แก่คณะทันตแพทย์ เพื่ออัญเชิญเป็นองค์ประกอบหลักของพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ที่จะจัดสร้าง จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกราบพระบาทเพื่อกราบบังคมทูลมีใจความว่า

  “เรื่องที่ข้าพระพุทธเจ้าจะกราบบังคมทูล? ข้าพระพุทธเจ้ามิทราบด้วยเกล้าฯ ว่าจะเป็นการบังควรหรือไม่ ถ้าไม่เป็นการบังควรข้าพระพุทธเจ้ากราบพระบาทขอพระราชทานอภัยเนื่องด้วยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จะมีอายุครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ นี้ คณะฯ ดำริจะจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ขึ้นเพื่อให้คณาจารย์และศิษย์เก่าทุกคนมีไว้สักการะบูชา แต่เนื่องด้วยเป็นทันตแพทย์ องค์ประกอบหลักสิ่งใดคงไม่ดีเท่าพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่รักและเทิดทูลสูงสุดของเหล่าข้าพระพุทธเจ้า จึงใคร่ขอพระราชทาน”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนิ่งอยู่สักครู่ แล้วจึงทอดพระเนตรชิ้นส่วนพระทนต์พร้อมกับทรงรับสั่งว่า

“เท่าใดจึงจะพอ จะทำพระกี่องค์ จะได้ทั่วถึงกันหรือ” และทรงรับสั่งต่ออีกว่า

“ทุกอย่างอยู่ที่ศรัทธา ถึงจะมีหรือไม่มีพระทนต์ ก็คงไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าศรัทธาก็ยินดีให้ ขอเพียงให้อาจารย์และทันตแพทย์ทุกคนเป็นคนดี และช่วยสั่งสอนศิษย์และคนอื่นให้เป็นคนดีต่อไป”

  ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช เมื่อได้ยินพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ท่าน ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งและสำนืกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อคณาจารย์และศิษย์เก่าทันตแพทย์เป็นอย่างยิ่งที่ทรงมีพระเมตตาพระราชทานพระทนต์เพื่อการจัดสร้างพระครั้งนี้ จากพระราชกระแสรับสั่งแสดงว่าพระองค์ท่านทรงนึกถีงบ้านเมืองทุกขณะ ทรงต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี บ้านเมืองจะได้มีคนดีมากๆ เพื่อนำชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ด้วยเหตุนี้ พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ทุกองค์จึงมีคำว่า “ทนฺโต เสฏฺโฐ” ซึ่งแปลว่า “ฝึกตนได้ประเสริฐ” โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก ได้ทรงเมตตาประทานตามกระแสพระราฃดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  ต่อมาทางคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอพระราชทานผงจิตรลดาและพระปรมภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐานในองค์พระที่จัดสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้แก่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมควรที่คณาจารย์และศิษย์เก่าจะต้องจดจำสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและดำเนินตามรอยพระยุคลบาท โดยตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระราชกระแสรับสั่งที่ทรงฝากไว้

  ในปี 2533 ในวาระที่คณะทันตฯ ได้ก่อตั้งมาครบ 50 ปี และเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา คณะฯ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และศิษย์เก่า ตลอดจนมีผู้จิตศรัทธาได้ร่วมกันจัดสร้างอาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ ขึ้น พร้อมครุภัณฑ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อาคารนี้จัดเป็นโรงพยาบาลทางทันตกรรมแห่งแรกในประเทศไทย ที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้านศัลยกรรมช่องปาก กระดูกขากรรไกรและใบหน้า รวมทั้งโรคฟันอื่นๆ ครบวงจร

  ในวโรกาสเดียวกันนี้ ยังได้จัดสร้างพระรูปหล่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขนาดเท่าพระองค์จริง ประดิษฐานไว้ ณ บริเวณโถงชั้น 2 อาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์นี้ เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าอาจารย์ นิสิต ข้าราชการ บุคลากร และประชาชนที่มารับบริการด้วย ต่อมาในปี 2536 ในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุ 93 พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ ว่า“อาคารสมเด็จย่า 93″ ซึ่งนับเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งแก่คณะทันตแพทยศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำพิธีเปิดเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2539

 

  วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้นำชิ้นส่วนพระทนต์และผงจิตรลดามาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างวัตถุมงคล ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร

  วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. พระบูชา พระกริ่ง และพระผง


วัตถประสงค์ของการสร้าง ๓ ประการ

 

1.เป็นที่ระลึกแห่งการสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบรอบ ๕๐ ปี
2.หารายได้สมทบทุนสร้างตึกและจัดตั้งกองทุนสำหรับใช้จ่ายในการพัฒนาการศึกษา
3.สร้างความสามัคคีระหว่างทันตแพทย์ คณาจารย์ ศิษย์เก่าและปัจจุบัน

 

การจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. แบ่งขั้นตอนใหญ่ๆ ๓ ขั้นตอน

 

  1. พิธีทำสารละลายพระบรมทนต์ พิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกระจายทุอณูของชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ถ่ายทอดไปยังพระทุกองค์ที่จัดสร้าง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธี? ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สารละลายพระบรมทนต์ถูกนำมาทำให้เป็นกลางและนำมาผสมกับผงพุทธคุณอื่นแล้วนำมาตากแห้ง กรองในตะแกรงแล้วผสมกับมวลสารอื่น เช่น ผงจิตรลดา พระทุกองค์ที่จัดสร้างจะมีอณูของชี้นส่วนพระทนต์อยู่ เพื่อคงไว้ซึงความศรัทธาและความสักดิ์สิทธิ์

  2. พิธีเททองหล่อพระ
  3. พิธีมหาพุทธาภิเษก


มวลสารที่บรรจุในพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.

 

  เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำชิ้นส่วนพระทนต์ แบบหล่อพระทนต์ และชิ้นส่วนวัสดุอุดพระทนต์ ซึ่งเป็นมวลสารที่สำคัญ อีกทั้งยังทรงพระราชทานผงจิตรลดาอันเป็นมวลสารรวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาของชาวไทยทั่วประเทศ มาเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ครั้งนี้ ด้วยศรัทธาของทันตแพทย์และประชาชนทั่วไป จึงมีผู้บริจาคมวลสารอื่นๆ ที่นับว่าหายากยิ่ง ล้วนแต่เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้ เพื่อนำมาผสมเป็นมวลสาร ซึ่งผู้ศรัทธาได้เก็บรักษามานาน คณะกรรมการฯ ได้นำมวลสารที่รวบรวมได้ทั้งหมดเข้าทูลถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก เพื่อทรงอธิษฐานจิตตลอดไตรมาส แล้วจึงนำมวลสารเหล่านี้มาผสมกับมวลสารหลัก เพื่อนำมาบรรจุในองค์พระที่จัดทำ โดยพระบูชาบรรจุในองค์พระใต้ฐาน พระกริ่งเจาะรูบรรจุพร้อมกับเม็ดกริ่งที่บริเวณใต้ฐาน ส่วนพระผงได้ผสมเข้ากับเนื้อพระ

พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.

 
  พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. พุทธลักษณ์ต่างจากพระกริ่งทั่วไป? คงพระรูปพระพุทธชินสีห์ไว้ ทางด้านหน้ามีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานอยู่ ส่วนที่ฐานด้านหลังมีลายพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระนามย่อ ญ.ส.ส. และคติพจน์ ทนฺโต เสฎฺโฐ ความสูงวัดจากยอดพระเกศถึงฐาน ๒๕ ซ.ม. ความกว้างฐานชั้นล่าง ๑๕.๙ ซ.ม. ใต้ฐานเจาะใส่ผงพระทนต์ในหลวง (ฟัน) และผงจิตรลดา ปิดฝาด้วยตราพระเกี้ยวและเลข ๕๐ ปี? มีด้วยกัน ๓ เนื้อ? คือ ทองคำ เงินและนวโลหะ (สร้างเนื้อละ 1,999 องค์)
 
พระผงพิมพ์ใหญ่และพระผงพิมพ์เล็กพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.
 
พระผงพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. พุทธลักษณ์จำลองจากพระพุทธชินสีห์อยู่ในครอบแก้วมัดหวายผ่าซีก ทางด้านหน้าที่บริเวณฐานมีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานอยู่ ส่วนที่ด้านหลังมีลายพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระนามย่อ ญ.ส.ส. และคติพจน์ ทนฺโต เสฎฺโฐ ตัวจม มีพลอยแดงฝังอยู่
ขนาดพิมพ์ใหญ่ ความกว้าง ๒๓.๕ ม.ม. ความสูง ๓๓.๕ ม.ม. ความหนา ๔.๙ ม.ม. ขนาดพิมพ์เล็ก? ความกว้าง ๑๗.๒ ม.ม. ความสูง ๒๔.๙ ม.ม. ความหนา ๓.๙ ม.ม.

 

พระบูชาหน้าตัก 5 นิ้ว

นอกจากนั้นยังมีพระบูชาหน้าตัก 5 นิ้วจำนวน 999 องค์ ตรงผ้าทิพย์มีพระนามย่อรัชการที่ ๙ ภ.ป.ร. ด้วย

การรวบรวมแผ่นทองนาคเงินจากพระเถระคณาจารย์

 

  เป็นความมุ่งหมายของทัตแพทย์และผู้มีจิตศรัทธาที่จะรวมแรงร่วมใจในการสร้างพระครั้งนี้ โดยได้นำแผ่นทอง นาค เงิน ถวายพระคณาจารย์ทั่วประเทศเพื่อลงอักขระและอธิษฐานจิต

 รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ลงอักขระและอธิฐานแผ่เมตตาจิตแผ่นทอง นาค เงิน พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. 50 ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ภาคกลาง

  • สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
  • พระราชญาณดิลก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กทม.
  • พระโพธิญาณเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กทม.
  • พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
  • พระครูวิบูลศีลวัตร (ช้วน) วัดหนังราชวรวิหาร กทม.
  • พระมหาถาวร จิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม กทม.
  • พระครูสุนทรธรรมวัฒน์ วัดเทพศิรินทราวาส กทม.
  • พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน อาภรโณ) วัดเทพศิรินทราวาส กทม.
  • พระราชสิงหคณาจารย์ (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
  • พระภาวนาวิสุทธิคุณ (จรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
  • หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี
  • พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
  • หลวงปู่วัย จตตาลโย วัดเขาพนมยงค์ สระบุรี
  • พระครูปัญญาภิรักษ์ วัดเขาบวช อ่างทอง
  • พระอาจารย์เทพ ถาวโร วัดท่าแคนอก ลพบุรี
  • หลวงปู่เย็น ทานรโต วัดกลางการเปรียญ ชัยนาท
  • พระภาวนาภิรามเถร (โต๊ะ) วัดโพธิ์ภาวนาราม ชัยนาท
  • พระครูนิยุตธรรมวิถี (แบน) วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์
  • พระครูนิยุตธรรมประวิตร์ (ฮวด) วัดหัวถนนใต้ นครสวรรค์
  • พระเทพคุณาภรณ์ (พุฒ) วัดโพธาราม นครสวรรค์
  • พระราชสุพรรณนาภรณ์ วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
  • พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี
  • พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (เจริญ) วัดธัญญวารี สุพรรณบุรี
  • พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณบุรี
  • พระครูภาวนาวิกรม (ทองเหมาะ) วัดปราสาททอง สุพรรณบุรี
  • พระครูสุวรรณเขมคุณ (ทองหยด) วัดชีสุขเกษม สุพรรณบุรี
  • หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
  • พระครูปลัดพรหม ติสสเทโว วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
  • พระครูศิริปุญญาทร วัดตูม พระนครศรีอยุธยา
  • พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
  • พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
  • พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม
  • พระโพธิญาณรังสีเถร (จันทร์) วัดป่าชัยรังสี สมุทรสาคร
  • พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
  • พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
  • พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
  • พระราชอุทัยกวี (พุฒ) วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม อุทัยธานี
  • พระราชพรหมยาน (วีระ, ฤาษีลิงดำ)? วัดจันทาราม อุทัยธานี
  • พระอาจารย์ไท ฐานุตตโม วัดเขาพุนก ราชบุรี
  • พระครูภาวนาวิธาน (อรุณ) วัดอนุณรัตนคีรี ราชบุรี
  • พระอาจารย์สมภพ เตชปุญโญ (สาลีโข) พุทธอุทยานธรรมโกศล ปทุมธานี
  • พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท วัดภูริฑัตตวนาราม ปทุมธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • พระญาณสิทธิจารย์ (สิงห์,ล.พ.เมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา
  • พระภาวนาพิศาลเถร (พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
  • พระอาจารย์คูณ ปริสุทโธ (ชู) วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
  • พระอาจารย์สงัด กมโล สำนักสงฆ์เกษตร นครราชสีมา
  • หลวงพ่อจันทร์แรม นครราชสีมา
  • หลวงพ่อสมาน นครราชสีมา
  • พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (ศรี) วัดป่าประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
  • พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย
  • พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์) วัดศณีเมือง หนองคาย
  • พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์) วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
  • พระครูปัญญาวิสุทธิ์ (บัวภา) วัดป่าพระสถิต หนองคาย
  • พระอาจารย์ทุย ฉันทกโร หนองคาย
  • หลวงปู่ตัน ฐิตธัมโม หนองคาย
  • พระครูญาณธราภิรัต (ท่อน) วัดศรีอภัยวัน เลย
  • หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดป่าวิปัสสนา เลย
  • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เลย
  • พระอาจารย์ศรีธน สีลธโน? วัดภ้ำผาปู่ เลย
  • พระอาจารย์เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู่ เลย
  • พระวีรชัยสุนทร (ชาลี) วัดทรงศิลา ชัยภูมิ
  • พระครูฐิติธรรมญาณ (ลี) วัดเหวลึก สกลนคร
  • พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ สกลนคร
  • พระอาจารย์แบน ธนากโล วัดดอยธรรมเจดีย์ สกลนคร
  • พระอาจารย์ก้าน จิตตธัมโม วัดถ้ำเป็ด สกลนคร
  • พระครูพิศาลปัญโญภาส (คำดี) วัดป่าอรัญญิกาวาส นครพนม
  • พระครูวิเวกวัฒนาทร (บุญเพ็ง) วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น
  • พระครูพิศาลคณานุกิจ (บุญทัน) วัดสามัคคีสันติธรรม ขอนแก่น
  • พระอริยานุวัตร (อารีย์) วัดมหาชัย มหาสารคาม
  • พระเทพมงคลเมธี (กิ่ง) วัดมณีวนาราม อุบลราชธานี
  • พระมงคลกิตติธาดา (อมร) วัดป่าวิเวกธรรมชาติ อุบลราชธานี
  • พระครูวิบูลธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว อุบลราชธานี
  • หลวงพ่อกิ อุบลราชธานี
  • พระอาจารย์หล้า เขมปตโต วัดภูจ้อก้อ มุกดาหาร
  • พระวิสุทธิธรรมาจารย์ (สมพงษ์) วัดพุทธัมมธโร มุกดาหาร
  • พระครูศาสนูปกรณ์ (บุญจันทร์) วัดสันติกาวาส อุดรธานี
  • พระครูวีรธรรมานุยุต (ทอง) วัดป่าปูลู อุดรธานี
  • พระครูสังวรศีลวัตร (อุ่น) วัดดอยบันไดสวรรค์ อุดรธานี
  • พระครูพิมลปรีชาญาณ (พิมพ์) วัดไชยาราม อุดรธานี
  • พระครูญาณวีราภรณ์ (บุญตา) วัดป่าบุญญาภิสมภรณ์ อุดรธานี
  • หลวงพ่อคำพอง อุดรธานี
  • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
  • พระอาจารย์เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อุดรธานี
  • พระอาจารย์เพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
  • พระอาจารย์เสน ปัญญาธโร วัดราษฎร์สงเคราะห์ อุดรธานี
  • พระอาจารย์โสม สุปัญโญ วัดป่าไม้งาม อุดรธานี
  • พระครูสัจจานุรักษ์ (เที่ยง) วัดพระพุทธบาทเขากระโดง บุรีรัมย์
  • พระครูอินทวรคุณ (ฤทธิ์) วัดอินทบูรพา บุรีรัมย์
  • พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
  • พระวิสุทธิธรรมรังสี วัดกะทมวนาราม สุรินทร์
  • พระครูสุเทะจันทสาร วัดปราสาทเทพนิมิต สุรินทร์
  • พระรัตนากรวิสุทธิ์ (สถิต) วัดบูรพาราม สุรินทร์
  • พระอาจารย์เมือง พลวฑโฒ วัดป่ามัชฌิมวาส กาฬสินธุ์

ภาคเหนือ

  • พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงคโล วัดอนาลโย พะเยา
  • พระครูศีลคุณากร (ดวงจันทร์) วัดเม็งรายมหาราช เชียงราย
  • พระครูอดุลธรรมญาณ (ครูบลาศรี) วัดร่องไฮ พะเยา
  • พระอาจารย์วิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
  • หลวงพ่อตี๋ เชียงราย
  • พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
  • พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ (หนู) วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
  • พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญญวิเวก เชียงใหม่
  • พระครูคำปัน ญาณวโร วัดศรีมงคล เชียงใหม่
  • พระอาจารย์บุญรัตน์ กนตจาโร วัดโขงขาว เชียงใหม่
  • พระอาจารย์เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
  • พระอาจารย์แว่น ธมมปาโล วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง
  • พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ วัดสำราญนิวาส ลำปาง
  • พระมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ ตาก
  • พระครูโสภณโพธิคุณ วัดโพธิ์งาม ตาก
  • พระวิสุทธิสมณาจารย์(เบี้ยว) วัดท่านา ตาก
  • พระราชรัตนรังสี (ทองปลิว) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
  • พระครูพัฒนากิจานุรักษ์ (วงษ์ศา) วัดนางเลี่ยง ลำพูน
  • พระมหาเจติยารักษ์ (ไพบูลย์) วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
  • พระครูสังวรญาณ (สังวร) วัดพระเจ้าสระเลียมหวาน ลำพูน
  • พระโสภณธีรคุณ (สุเธียร) วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
  • หลวงปู่สมบัติ คุเณสโก วัดถ้ำก่อ แม่ฮ่องสอน

ภาคตะวันออก

  • พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม ชลบุรี
  • พระราชพุทธิรังสี (วิเชียร) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
  • พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
  • พระวรพรตปัญญาจารย์ (แฟ้ม) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
  • พระอาจารย์วิโรจน์ ฐานวโร วัดห้วยเกษียรใหญ่ ปราจีนบุรี
  • พระครูรักขิตสีลคุณ (ณรงค์ชัย) วัดปราทรงคุณ ปราจีนบุรี
  • พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง) วัดป่ามะไฟ ปราจีนบุรี
  • พระครูวรเวทย์โกวิท (อั้น) วัดเลียบ ปราจีนบุรี
  • พระครูสังวรามธิวัตร (สังวร) วัดเภตราสุขารมณ์ ระยอง

ภาคใต้

  • พระครูปลัดกมล กมโล วัดป้อม เพชรบุรี
  • พระครูญาณวิมล (นิตย์) วัดกำแพงแลง เพชรบุรี
  • พระครูประภัศรสมาธิคุณ (ผ่อง) วัดธรรมรังสี เพชรบุรี
  • หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหละ ประจวบคีรีขันธ์
  • พระอธิการยิด จันทสุวัณโณ วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
  • พระครูพิศาลสมาธิวัตร (ก้าน) วัดราชายตนบรรพต ประจวบคีรีขันธ์
  • พระครูภาวนาภิรม (คลิ้ง) วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
  • พระกิตติมงคลพิพัฒน์ (จ้อย) วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
  • พระธรรมเมธาจารย์(ทัน) วัดภูผาภิมุข พัทลุง
  • พระครูบวรศีลขันธ์ (คลิ้ง) วัดป่าบอน พัทลุง
  • พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏโฐ วัดถ้ำเสือ กระบี่
  • หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว ปัตตานี
  • พระราชปัญญารังสี (เนื่อง) วัดนาประดู่ ปัตตานี
  • พระราชญาณเวที (สุระ) วัดสวนใหม่ ยะลา
  • หลวงพ่อบุญฤทธิ์ ประเทศออสเตรเลีย


พิธีมหาพุทธาภิเษก

พิธีมหาพุทธาภิเษก ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญมากในการจัดสร้างพระ สมเด็จพระญาณสังวร? สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายกทรงพระเมตตารับเป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรงประทานในฤกษ์ ในวันเสาร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๓ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๑๙ นาที เป็นฤกษ์จุดเทียนชัย การจัดพิธีได้รับความรวมมือจากกองพิธีการ สำนักพระราชวัง และที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ เมื่อพิจารณาถึงพิธีและฤกษ์พิธีจะเห็นได้ว่า ความสมบูรณ์ของพิธีครั้งนี้นับได้ว่าฤกษ์ที่ดี เพราะฤกษ์ที่ทรงประทานเป็นฤกษ์เสาร์ห้า ถือว่าเป็นฤกษ์ที่ดีที่สุดในการทำพิธีพุทธาภิเษกมาแต่โบราณกาล ทั้งตรงกับวันมหาสงกรานต์ซึ่งเป็นวันอุดมมงคลของชาวไทย ประธานในพิธีคือสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นองค์ประธานของพระพุทธศาสนา พิธีจัดทำในอุโบสถวัดวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินสีห์ เสมือนหนึ่งเป็นพระประธานในการปรก โดยมีเถระคณาจารย์จากทั่วทุกภาค? ๕๔? องค์? ร่วมนั่งปรกในครั้งนี้


รายนามพระสงฆ์ ผู้สวดภาณวสรในพิธีมหาพุทธาภิเษก

  1. พระครูประสิทธิพุทธมนต์
  2. พระมหาถาวร
  3. พระมหาจิรพล
  4. พระมหาวงศ์ไทย
  5. พระเสน่ห์
  6. พระมหานิรันดร
  7. พระมหาฉลอง
  8. พระมหาเพชร


รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมหาพุทธาภิเษก

  1. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.
  2. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
  3. พระพรหมคุณาคุณาภรณ์ วัดสระเกศ กทม.
  4. พระธรรมวโรดม วัดชนะสงคราม กทม.
  5. พระอุดมญาณโมลี วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
  6. พระสุธรรมาธิบดี วัดราชาธิวาสวิหาร กทม.
  7. พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
  8. พระเทพวราจารย์? วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
  9. พระมงคลรัตนมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
  10. พระมหานายก วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.


รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก

  1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
  2. พระอุดมสังวรเถระ (อุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
  3. พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์,หลวงพ่อเมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา
  4. พระภาวนาวิสุทธิคุณ (จรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
  5. พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
  6. พระราชพุทธิรังสี (วิเชียร) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
  7. พระราชสุพรรณนาภรณ์ วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
  8. พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี
  9. พระครูปลัดพรหม ติสสเทโว วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
  10. พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
  11. พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ (หนู) วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
  12. พระครูสมุห์อวยพร (มาแทนหลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
  13. พระสำอาง อนาลโย (มาแทนหลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
  14. พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม
  15. พระครูศีลคุณากร (ดวงจันทร์) วัดเม็งรายมหาราช เชียงราย
  16. พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
  17. พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
  18. พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณบุรี
  19. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย
  20. พระครูนิยุตธรรมวิถี (แบน) วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์
  21. พระมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ ตาก
  22. พระมหาถาวร จิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม กทม.
  23. พระอาจารย์แว่น ธมมปาโล วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง
  24. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
  25. พระครูพิศาลปัญโญภาส (คำดี) วัดป่าอรัญญิกาวาส นครพนม
  26. พระอาจารย์วิโรจน์ ฐานวโร วัดห้วยเกษียรใหญ่ ปราจีนบุรี
  27. พระอธิการยิด จันทสุวัณโณ วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
  28. พระครูรักขิตสีลคุณ (ณรงค์ชัย) วัดปราทรงคุณ ปราจีนบุรี
  29. พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง) วัดป่ามะไฟ ปราจีนบุรี
  30. พระอาจารย์สงัด กมโล สำนักสงฆ์เกษตร นครราชสีมา
  31. พระราชญาณดิลก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กทม.
  32. พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
  33. พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
  34. พระครูฐิติธรรมญาณ (ลี) วัดเหวลึก สกลนคร
  35. พระครูวิบูลศีลวัตร (ช้วน) วัดหนังราชวรวิหาร กทม.
  36. หลวงปู่วัย จตตาลโย วัดเขาพนมยงค์ สระบุรี
  37. พระอาจารย์สุภาพ ธรรมปัญโญ วัดทุ่งสว่าง อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
  38. พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
  39. พระอาจารย์บุญรัตน์ กนตจาโร วัดโขงขาว เชียงใหม่
  40. พระครูสิริธรรมรัต (หร่ำ) วัดสามัคคีธรรม กทม.
  41. พระครูศิริปุญญาทร วัดตูม พระนครศรีอยุธยา
  42. พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ วัดสำราญนิวาส ลำปาง
  43. หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร
  44. พระครูสุวรรณธรรมโชติ วัดอโศการาม สมุทรปราการ
  45. หลวงปู่สุพรรณ อินทวังโส วัดป่าประชานิมิต อุดรธานี
  46. พระสุทธิธรรมาจารย์ (คอน) วัดชัยพฤกษมาลา กทม.
  47. พระอาจารย์กิมเส้ง ฐิตธัมโม สำนักสงฆ์โอภาสี กทม.
  48. พระครูสุวรรณสิทธิ์ (ฤาษีลิงขาว) วัดฤกษ์บุญมี สุพรรณบุรี
  49. พระธรรมศาสตร์รักษา วัดหนองบัวทอง สุพรรณบุรี
  50. พระครูวรเวทย์โกวิท วัดเลียบ สุพรรณบุรี
  51. พระอาจารย์เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู เลย
  52. พระอาจารย์ณรงค์ วฑฒโณ วัดถ้ำผาปู เลย
  53. พระครูวิจิตรนวการ วัดโคนอน กทม.
  54. พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ กทม.

 

 

 

 

 

สินค้าที่ใกล้เคียงในร้านนี้

ดูสินค้าทั้งหมด

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ

พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่  กล่องเดิม สวยแชมป์
พระพุทธชินสีห์ ภปร.(สมเด็จทันโต) ผสมมวลสารมหามงคลพระทนต์ในหลวง ร.9 พิมพ์ใหญ่ กล่องเดิม สวยแชมป์
3,000.00.-
ติดต่อร้านค้า