พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558
พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558
พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558
พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558
พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558

พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558

พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558 ขนาดสูง 16 นิ้ว เนื้อโลหะรมดำ บรรจุพระเกศาพระจีวร และมวลสารส่วน

  • ราคา 15,000.00.-

จำนวนสินค้า

สินค้าหมด
แชร์สินค้านี้
  • facebook
  • twitter
  • google
ร้านอุดมมงคลพระเครื่อง ย้ายไปที่ www.udommongkol.com แล้วนะครับ....ขอบคุณมากๆ ครับ

เข้าชมร้านค้า

รายละเอียด

    สิ่งมงคลล้ำค่า หายากที่สุดครับ

 
****พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558 ขนาดสูง 16 นิ้ว เนื้อโลหะรมดำ บรรจุพระเกศาพระจีวร และมวลสารส่วนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ อยุ่ที่ด้านหลังตราพระนามย่อ ญสส. ด้านล่าง ข้างหน้า ส่วนด้านหลังสลักว่า โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2558
****งามและหายากสุดๆ  องค์นี้ No.44  จัดสร้างโดยโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 จังหวัดกาญจนบุรี (โรงพยาบาลท่าม่วงเดิม)
*****พิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 โดยพระธรรมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นประธานเททอง และพิธีมังคลาภิเษก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2558 โดยพระเกจิคณาจารย์วิปัสสนาจารย์ สายจังหวัดกาญจนบุรี  จัดสร้างน้อย ตามจำนวนสั่งจองเท่านั้นครับ

****** งามและทรงคุณค่าสุดๆ ครับ รุ่นนี้

 

 

 

 
 
 
 
 
 


 

 

 

 
 
 


 

 

สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

 

   เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก(สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรีมีพระนามเดิมว่าเจริญคชวัตรประสูติเมื่อวันที่๓ตุลาคมพ.ศ. ๒๔๕๖  เวลาประมาณ๐๔.๐๐น. เศษ(นับอย่างปัจจุบันเป็นวันที่๔ตุลาคม) ตรงกับวันศุกร์ขึ้น๔ค่ำเดือน๑๑ปีฉลูณตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีพระชนกชื่อนายน้อยคชวัตรพระชนนีชื่อนางกิมน้อยคชวัตร

        บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจเพราะมาจาก๔ทิศทางกล่าวคือพระชนกมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่งจากปักษ์ใต้ทางหนึ่งส่วนพระชนนีมีเชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่งจากจีนทางหนึ่ง

        นายน้อยคชวัตรเป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่มเป็นหลานปู่หลานย่าของหลวงพิพิธภักดีและนางจีนหลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นชาวกรุงเก่าเข้ามารับราชการในกรุงเทพฯได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยาคราวหนึ่งและเป็นผู้หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๓ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ไปคุมเชลยศึกที่เมืองพระตะบองคราวหนึ่งหลวงพิพิธภักดีได้ภรรยาเป็นชาวไชยา๒คนชื่อทับคนหนึ่งชื่อนุ่นคนหนึ่งและได้ภรรยาเป็นชาวพุมเรียงอีกคนหนึ่งชื่อแต้มต่อมาเมื่อครั้งพวกแขกยกเข้าตีเมืองตรังเมืองสงขลาของไทยเมื่อพ.ศ. ๒๓๘๑  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาศรีพิพัฒน์(ทัดซึ่งต่อมาได้เป็นที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติในรัชกาลที่๔) เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปรามหลวงพิพิธภักดีได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วยและไปได้ภรรยาอีกหนึ่งชื่อจีนซึ่งเป็นธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง(สน) เป็นหลานสาวของพระตะกั่วทุ่งหรือพระยาโลหภูมิพิสัย(ขุนดำชาวเมืองนครศรีธรรมราช) ต่อมาหลวงพิพิธภักดีได้พาภรรยาชื่อจีนมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพฯและได้รับภรรยาเดิมชื่อแต้มจากพุมเรียงมาอยู่ด้วย(ส่วนภรรยาอีก๒คนได้ถึงแก่กรรมไปก่อน)

        เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีคือพระยาพิชัยสงครามเป็นเจ้าเมืองศรีสวัสดิ์กาญจนบุรีและมีอาชื่อพระยาประสิทธิสงคราม(ขำ) เป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรีต่อมาหลวงพิพิธภักดีลาออกจากราชการและได้พาภรรยาทั้ง๒คนมาตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี

        กล่าวกันว่าหลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นคนดุเมื่อเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยาเคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคาเป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีเกิดสลดใจลาออกจากราชการแต่บางคนเล่าว่าเหตุที่ทำให้หลวงพิพิธภักดีต้องลาออกจากราชการนั้นก็เพราะเกิดความเรื่องที่ได้ธิดาพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่งชื่อจีนมาเป็นภรรยานั่นเอง

        เมื่อพี่ชายคือพระพิชัยสงครามทราบว่าหลวงพิพิธภักดีอพยพครอบครัวมาอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีก็ได้ชักชวนให้เข้ารับราชการอีกแต่หลวงพิพิธภักดีไม่สมัครใจและได้ทำนาเลี้ยงชีพต่อมา

        นายน้อยคชวัตรได้เรียนหนังสือตลอดจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ๒พรรษาอยู่ในสำนักของพระครูสิงคบุรคณาจารย์(สุด) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านพระครูสิงคบุรคณาจารย์นั้นเป็นบุตรคนเล็กของหลวงพิพิธภักดีกับนางจีนเป็นอาคนเล็กของนายน้อยเมื่อลาสิกขาแล้วนายน้อยได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เมืองกาญจนบุรีและได้แต่งงานกับนางกิมน้อยในเวลาต่อมา

        นางกิมน้อยมาจากบรรพชนสายญวนและจีนบรรพชนสายญวนนั้นได้อพยพเข้ามาเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่๓เมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินเดชา(สิงห์ต้นตระกูลสิงหเสนี) ยกทัพไปปราบจราจลเมืองญวนได้ครอบครัวญวนส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกญวนที่นับถือพระพุทธศาสนาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กาญจนบุรีเมื่อปลายปีพ.ศ. ๒๓๗๒  เพื่อทำหน้าที่รักษาป้อมเมืองส่วนพวกญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่กับพวกญวนเข้ารีดที่เมืองสามเสนในกรุงเทพฯบรรพชนสายญวนของนางกิมน้อยเป็นพวกญวนที่เรียกว่า“ญวนครัว”

        ส่วนบรรพชนสายจีนนั้นได้โดยสารสำเภามาจากเมืองจีนและได้ไปตั้งถิ่นฐานทำการค้าอยู่ที่กาญจนบุรี

        นางกิมน้อยเป็นบุตรีนายทองคำ(สายญวน) กับนางเฮงเล็กแซ่ตัน(สายจีน) เกิดที่ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองกาญจนบุรีเมื่อแต่งงานกับนายน้อยแล้วได้ใช้ชื่อว่าแดงแก้วแต่ต่อมาก็กลับไปใช้ชื่อเดิมคือกิมน้อยหรือน้อยตลอดมา

        นายน้อยคชวัตรเริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียนแล้วเลื่อนขึ้นเป็นผู้รั้งปลัดขวาแต่ต้องออกจากราชการเสียคราวหนึ่งเพราะป่วยหนักหลังจากหายป่วยแล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นปลัดขวาอำเภอวังขนายกาญจนบุรีต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงครามเกิดป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอกจึงกลับมารักษาตัวที่บ้านกาญจนบุรีและได้ถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุเพียง๓๘ปีได้ทิ้งบุตรน้อยๆให้ภรรยาเลี้ยงดู๓คนคือ

        ๑.  เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช(เจริญคชวัตร)

        ๒.  นายจำเนียรคชวัตร

        ๓.  นายสมุทรคชวัตร(ถึงแก่กรรมแล้ว)

        สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จฯนั้นป้าเฮงผู้เป็นที่สาวของนางกิมน้อยได้ขอมาเลี้ยงตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของป้าเฮงมาตลอดจนกระทั่งทรงบรรพชาเป็นสามเณรป้าเฮ้งได้เลี้ยงดูเจ้าพระคุณสมเด็จฯด้วยความถนุถนอมเอาใจเป็นอย่างยิ่งจนพากันเป็นห่วงว่าจะทำให้เสียเด็กเพราะเลี้ยงแบบตามใจเกินไป

        ชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯนับว่าเป็นสุขและอบอุ่นเพราะมีป้าคอยดูแลเอาใจใส่อย่างถนุถนอมส่วนที่นับว่าเป็นทุกข์ของชีวิตในวัยนี้ก็คือความเจ็บป่วยออดแอดของร่างกายในเยาว์วัยเจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอจนคราวหนึ่งทรงป่วยหนักถึงกับ        ญาติๆพากันคิดว่าคงจะไม่รอดและบนว่าถ้าหายป่วยจะให้บวชแก้บนเรื่องนี้นับเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา

        พระนิสัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อเยาว์วัยนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นบุพพนิมิตหรือเป็นสิ่งแสดงถึงวิถีชีวิตในอนาคตของพระองค์ได้อย่างหนึ่งกล่าวคือเมื่อทรงพระเยาว์พระนิสัยที่ทรงแสดงออกอยู่เสมอได้แก่การชอบเล่นเป็นพระหรือเล่นเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเล่นสร้างถ้ำก่อเจดีย์เล่นทอดผ้าป่าทอดกฐินเล่นทิ้งกระจาดแม้ของเล่นก็ชอบทำของเล่นที่เกี่ยวกับพระเช่นทำคัมภีร์เทศน์เล็กๆตาลปัตรเล็กๆ(คือพัดยศเล็กๆ)

        พระนิสัยที่แปลกอีกอย่างหนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อเยาว์วัยคือทรงชอบเล่นเทียนเนื่องจากป้าต้องออกไปทำงานตั้งแต่ยังไม่สว่างเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงต้องพลอยตื่นแต่ดึกตามป้าด้วยแล้วไม่ยอมนอนต่อป้าจึงต้องหาของให้เล่นคือหาเทียนไว้ให้จุดเล่นเจ้าพระคุณสมเด็จฯก็จะจุดเทียนเล่นและนั่งดูเทียนเล่นอยู่คนเดียวจนสว่าง

        พระนิสัยในทางไม่ดีก็ทรงมีบ้างเช่นเดียวกับเด็กทั่วไปดังที่ทรงเคยเล่าว่าเมื่อเยาว์วัยก็ทรงชอบเลี้ยงปลากัดชนไก่และบางครั้งก็ทรงหัดดื่มสุราดื่มกระแช่ไปตามเพื่อนแต่พระนิสัยในทางนี้มีไม่มากถึงกับจะทำให้กลายเป็นเด็กเกเร

        เมื่อพระชนมายุได้๘ขวบเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงเริ่มเข้าโรงเรียนคือโรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งใช้ศาลาวัดเป็นโรงเรียนจนจบชั้นประถม๓เท่ากับจบชั้นประถมศึกษาในครั้งนั้นหากจะเรียนต่อชั้นมัธยมจะต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุดท้ายทรงตัดสินพระทัยเรียนต่อชั้นประถม๔ซึ่งจะเปิดสอนต่อไปที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามนั้นแล้วก็จะเปิดชั้นประถม๕ต่อไปด้วย(เทียบเท่าม.๑และม.๒แต่ไม่มีเรียนภาษาอังกฤษ) ในระหว่างเป็นนักเรียนทรงสมัครเป็นอนุกาชาดและลูกเสือทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอกทรงจบการศึกษาชั้นประถม๕เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๘  พระชนมายุ๑๒พรรษา

        หลังจากจบชั้นประถม๕แล้วทรงรู้สึกว่ามาถึงทางตันไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะไปเรียนที่ไหนเพราะขาดผู้นำครอบครัวที่จะเป็นผู้ช่วยคิดช่วยแนะนำตัดสินใจทรงเล่าว่าเมื่อเยาว์วัยทรงมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาดกลัวต่อคนแปลกหน้าและค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลยจึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

บรรพชาอุปสมบท

        ในปีรุ่งขึ้นคือพ.ศ. ๒๔๖๙  น้าชาย๒คนจะบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามพระชนนีและป้าจึงชักชวนเจ้าพระคุณสมเด็จฯซึ่งขณะนั้นพระชนมายุย่าง๑๔พรรษาให้บวชเป็นสามเณรแก้บนที่ค้างมาหลายปีแล้วให้เสร็จเสียทีเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงตกลงพระทัยบวชเป็นสามเณรที่วัด         เทวสังฆารามในปีนั้น  โดยพระครูอดุลยสมณกิจ (ดีพุทธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม  ซึ่งเรียกกันว่า  “หลวงพ่อวัดเหนือ”เป็นพระอุปัชณาย์(สุดท้ายได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระเทพมงคลรังษี) พระครูนิวิฐสมาจาร(เหรียญสุวณณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลารามซึ่งเรียกกันว่า“หลวงพ่อวัดหนองบัว”เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

        ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรเจ้าพระคุณสมเด็จฯไม่เคยอยู่วัดมาก่อนเพียงแต่ไปเรียนหนังสือที่วัดจึงไม่ทรงคุ้นเคยกับพระรูปใดในวัดแม้หลวงพ่อวัดเหนือผู้เป็นพระอุปัชณาย์ของพระองค์ก็ไม่ทรงคุ้นเคยมาก่อนความรู้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องวัดก็ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกันนอกจากการไปวัดในงานเทศกาลการไปทำบุญที่วัดกับป้าและเป็นเพื่อนป้าไปฟังเทศน์เวลากลางคืนในเทศกาลเข้าพรรษาซึ่งที่วัดเหนือมีเทศน์ทุกคืนตลอดพรรษาทรงเล่าว่าถ้าพระเทศน์เรื่องชาดกก็รู้สึกฟังสนุกเมื่อถึงเวลาเทศน์ก็มักจะเร่งป้าให้รีบไปฟังแต่ถ้าพระเทศน์ธรรมะก็ทรงรู้สึกว่าไม่รู้เรื่องและเร่งป้าให้กลับบ้านกล่าวได้ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อทรงพระเยาว์นั้นแทบจะไม่เคยห่างจากอกของป้าเลยยกเว้นการไปแรมคืนในเวลาเป็นลูกเสือบ้างเท่านั้นในคืนวันสุดท้ายก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้นป้าพูดว่า“คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน”ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังจากทรงบรรพชาเป็นสามเณรแล้วก็ไม่ทรงมีโอกาสกลับไปอยู่ในอ้อมอกของป้าอีกเลยจนกระทั่งป้าเฮงถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๗
      กล่าวได้ว่าชีวิตพรหมจรรย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯนั้นเริ่มต้นจากการบวชแก้บนเมื่อทรงบรรพชาแล้วก็ทรงอยู่ในความปกครองของหลวงพ่อวัดเหนือและทรงเริ่มคุ้นเคยกับหลวงพ่อมากขึ้นเป็นลำดับ

      พรรษาแรกแห่งชีวิตพรหมจรรย์ณวัดเทวสังฆารามเจ้าพระคุณสมเด็จฯ  ยังไม่ได้เล่าเรียนอะไรมีแต่ท่องสามเณรสิกขา(คือข้อพึงปฏิบัติสำหรับสามเณร) และท่องบททำวัตรสวดมนต์เท่านั้นส่วนกิจวัตรก็คือการปฏิบัติรับใช้หลวงพ่อผู้เป็นพระอุปัชฌาย์มีสิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อสอนในระหว่างที่ทำอุปัชฌาย์วัตร(คือการปฏิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์) ก็คือการต่อเทศน์แบบที่เรียกกันว่าต่อหนังสือค่ำอันเป็นวิธีการเรียนการสอนอย่างหนึ่งในสมัยโบราณกล่าวคือเมื่อเข้าไปทำอุปัชฌาย์วัตรในตอนค่ำมีการบีบนวดเป็นต้นหลวงพ่อก็จะอ่านเทศน์ให้ฟังคืนละตอนแล้วท่องจำตามคำอ่านของท่านทำต่อเนื่องกันไปทุกคืนจนจำได้ทั้งกัณฑ์กัณฑ์เทศน์ที่หลวงพ่อต่อให้คือเรื่องอริยทรัพย์๗ประการเมื่อทรงจำได้คล่องแล้วหลวงพ่อก็ให้ขึ้นเทศน์ปากเปล่าให้ญาติโยมฟังในโบสถ์คืนวันพระวันหนึ่งในพรรษานั้นหลังจากเทศน์ให้ญาติโยมฟังแล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯยังทรงบันทึกเทศน์กัณฑ์นี้ไว้ในสมุดบันทึกส่วนพระองค์ด้วย

 

   
 
                 


สินค้าที่ใกล้เคียงในร้านนี้

ดูสินค้าทั้งหมด

สินค้าที่คุณอาจจะสนใจ

พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558
พระรูปหล่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ญสส. (ทรงไม้เท้าประทับยืน) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2558
15,000.00.-
ติดต่อร้านค้า