จำนวนสินค้า
***พระสมเด็จ อัญมณี รุ่น “ทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา” พ.ศ.๒๕๓๖ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) วัดบวรนิเวศ
องค์ เป็น เนื้อผงพลอยแดง
**องค์นี้ หมายเลข No.4956 มวลสารเข้มข้น งามและหายากสุดๆ ครับ
**พระดี พิธีดี พระเกจิคณาจารย์และวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศ ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกอลังการสุดๆ ครับ
****พระสมเด็จ อัญมณี รุ่น “ทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา” พ.ศ.๒๕๓๖ จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนในการสร้างวัดล้านนาญาณสังวราราม ต.ป่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคสมทบทุนในการสร้างถาวรวัตถุต่างๆให้สำเร็จ พร้อมทั้งเฉลิมพระเกียรติ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา ๘๐ ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๓๖
***กำหนดพิธีมหาพุทธาภิเษกวันศุกร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ เวลา 15.00 น. ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานในพิธี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.มหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส รายนามคณาจารย์ที่นั่งปรกในพิธีมหาพุทธาภิเษก หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย นครพนม, พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม (ดับเทียนชัย), หลวงพ่อยิด จนฺทสุวัณโณ วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง นครปฐม, หลวงปู่ทอง วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ, หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม นครปฐม, หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม, หลวงพ่อแคล้ว วัดบางขุนเทียนนอก กรุงเทพฯ, หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม, พระราชปัญญาสุธี วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
***หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง สุพรรณบุรี, หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี, หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา, พระครูสันติสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี, พระภาวนาพิศาเถร (พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา, หลวงพ่อสาย วัดขนอนใต้ พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ นครปฐม
หลวงพ่ออาบ วัดอ้อมน้อย สมุทรสาคร, หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา พระนครศรีอยุธยา, พระสมุห์จรูญ ฐานิสสโร ภิกขุ วัดกันตทาราม กรุงเทพฯ, หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข กรุงเทพฯ, หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี สมุทรสาคร, หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย ปทุมธานี, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง นครปฐม, หลวงพ่อสิริ วัดตาล ปทุมธานี เป็นต้น
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก(สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรีมีพระนามเดิมว่าเจริญคชวัตรประสูติเมื่อวันที่๓ตุลาคมพ.ศ. ๒๔๕๖ เวลาประมาณ๐๔.๐๐น. เศษ(นับอย่างปัจจุบันเป็นวันที่๔ตุลาคม) ตรงกับวันศุกร์ขึ้น๔ค่ำเดือน๑๑ปีฉลูณตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีพระชนกชื่อนายน้อยคชวัตรพระชนนีชื่อนางกิมน้อยคชวัตร บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจเพราะมาจาก๔ทิศทางกล่าวคือพระชนกมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่งจากปักษ์ใต้ทางหนึ่งส่วนพระชนนีมีเชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่งจากจีนทางหนึ่ง
นายน้อยคชวัตร เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีคือพระยาพิชัยสงครามเป็นเจ้าเมืองศรีสวัสดิ์กาญจนบุรีและมีอาชื่อพระยาประสิทธิสงคราม(ขำ) เป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรีต่อมาหลวงพิพิธภักดีลาออกจากราชการและได้พาภรรยาทั้ง๒คนมาตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี กล่าวกันว่าหลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นคนดุเมื่อเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยาเคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคาเป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีเกิดสลดใจลาออกจากราชการแต่บางคนเล่าว่าเหตุที่ทำให้หลวงพิพิธภักดีต้องลาออกจากราชการนั้นก็เพราะเกิดความเรื่องที่ได้ธิดาพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่งชื่อจีนมาเป็นภรรยานั่นเอง เมื่อพี่ชายคือพระพิชัยสงครามทราบว่าหลวงพิพิธภักดีอพยพครอบครัวมาอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีก็ได้ชักชวนให้เข้ารับราชการอีกแต่หลวงพิพิธภักดีไม่สมัครใจและได้ทำนาเลี้ยงชีพต่อมา นายน้อยคชวัตรได้เรียนหนังสือตลอดจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ๒พรรษาอยู่ในสำนักของพระครูสิงคบุรคณาจารย์(สุด) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านพระครูสิงคบุรคณาจารย์นั้นเป็นบุตรคนเล็กของหลวงพิพิธภักดีกับนางจีนเป็นอาคนเล็กของนายน้อยเมื่อลาสิกขาแล้วนายน้อยได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เมืองกาญจนบุรีและได้แต่งงานกับนางกิมน้อยในเวลาต่อมา
นางกิมน้อยมาจากบรรพชนสายญวนและจีนบรรพชนสายญวนนั้นได้อพยพเข้ามาเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่๓เมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินเดชา(สิงห์ต้นตระกูลสิงหเส ส่วนบรรพชนสายจีนนั้นได้โดยสารสำเภามาจากเมืองจีนและได้ไปตั้งถิ่นฐานทำการค้าอยู่ที่กาญจนบุรี นางกิมน้อยเป็นบุตรีนายทองคำ(สายญวน) กับนางเฮงเล็กแซ่ตัน(สายจีน) เกิดที่ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองกาญจนบุรีเมื่อแต่งงานกับนายน้อยแล้วได้ใช้ชื่อว่าแดงแก้วแต่ต่อมาก็กลับไปใช้ชื่อเดิมคือกิมน้อยหรือน้อยตลอดมา นายน้อยคชวัตรเริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียนแล้วเลื่อนขึ้นเป็นผู้รั้งปลัดขวาแต่ต้องออกจากราชการเสียคราวหนึ่งเพราะป่วยหนักหลังจากหายป่วยแล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นปลัดขวาอำเภอวังขนายกาญจนบุรีต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงครามเกิดป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอกจึงกลับมารักษาตัวที่บ้านกาญจนบุรีและได้ถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุเพียง๓๘ปีได้ทิ้งบุตรน้อยๆให้ภรรยาเลี้ยงดู๓คนคือ ๑. เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช(เจริญคชวัตร) ๒. นายจำเนียรคชวัตร ๓. นายสมุทรคชวัตร(ถึงแก่กรรมแล้ว) สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จฯนั้นป้าเฮงผู้เป็นที่สาวของนางกิมน้อยได้ขอมาเลี้ยงตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของป้าเฮงมาตลอดจนกระทั่งทรงบรรพชาเป็นสามเณรป้าเฮ้งได้เลี้ยงดูเจ้าพระคุณสมเด็จฯด้วยความถนุถนอมเอาใจเป็นอย่างยิ่งจนพากันเป็นห่วงว่าจะทำให้เสียเด็กเพราะเลี้ยงแบบตามใจเกินไป ชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯนับว่าเป็นสุขและอบอุ่นเพราะมีป้าคอยดูแลเอาใจใส่อย่างถนุถนอมส่วนที่นับว่าเป็นทุกข์ของชีวิตในวัยนี้ก็คือความเจ็บป่วยออดแอดของร่างกายในเยาว์วัยเจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอจนคราวหนึ่งทรงป่วยหนักถึงกับ ญาติๆพากันคิดว่าคงจะไม่รอดและบนว่าถ้าหายป่วยจะให้บวชแก้บนเรื่องนี้นับเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา พระนิสัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อเยาว์วัยนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นบุพพนิมิตหรือเป็นสิ่งแสดงถึงวิถีชีวิตในอนาคตของพระองค์ได้อย่างหนึ่งกล่าวคือเมื่อทรงพระเยาว์พระนิสัยที่ทรงแสดงออกอยู่เสมอได้แก่การชอบเล่นเป็นพระหรือเล่นเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเล่นสร้างถ้ำก่อเจดีย์เล่นทอดผ้าป่าทอดกฐินเล่นทิ้งกระจาดแม้ของเล่นก็ชอบทำของเล่นที่เกี่ยวกับพระเช่นทำคัมภีร์เทศน์เล็กๆตาลปัตรเล็กๆ(คือพัดยศเล็กๆ) พระนิสัยที่แปลกอีกอย่างหนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อเยาว์วัยคือทรงชอบเล่นเทียนเนื่องจากป้าต้องออกไปทำงานตั้งแต่ยังไม่สว่างเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงต้องพลอยตื่นแต่ดึกตามป้าด้วยแล้วไม่ยอมนอนต่อป้าจึงต้องหาของให้เล่นคือหาเทียนไว้ให้จุดเล่นเจ้าพระคุณสมเด็จฯก็จะจุดเทียนเล่นและนั่งดูเทียนเล่นอยู่คนเดียวจนสว่าง
พระนิสัยในท เมื่อพระชนมายุได้๘ขวบเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงเริ่มเข้าโรงเรียนคือโรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งใช้ศาลาวัดเป็นโรงเรียนจนจบชั้นประถม๓เท่ากับจบชั้นประถมศึกษาในครั้งนั้นหากจะเรียนต่อชั้นมัธยมจะต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุดท้ายทรงตัดสินพระทัยเรียนต่อชั้นประถม๔ซึ่งจะเปิดสอนต่อไปที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามนั้นแล้วก็จะเปิดชั้นประถม๕ต่อไปด้วย(เทียบเท่าม.๑และม.๒แต่ไม่มีเรียนภาษาอังกฤษ) ในระหว่างเป็นนักเรียนทรงสมัครเป็นอนุกาชาดและลูกเสือทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอกทรงจบการศึกษาชั้นประถม๕เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๘ พระชนมายุ๑๒พรรษา หลังจากจบชั้นประถม๕แล้วทรงรู้สึกว่ามาถึงทางตันไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะไปเรียนที่ไหนเพราะขาดผู้นำครอบครัวที่จะเป็นผู้ช่วยคิดช่วยแนะนำตัดสินใจทรงเล่าว่าเมื่อเยาว์วัยทรงมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาดกลัวต่อคนแปลกหน้าและค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลยจึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น บรรพชาอุปสมบท
ในปีรุ่งขึ้นคือพ.ศ. ๒๔๖๙ น้าชาย๒คนจะบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามพระชนนีและป้าจึงชักชวนเจ้าพระคุณสมเด็จ
ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรเจ้าพระคุณสมเด็จฯไม่เคยอยู่วัดมาก่อนเพียงแต่ไปเรียนหนังสือที่วัดจึงไม่ทรงคุ้นเคยกับพระรูปใดในวัดแม้หลวงพ่อวัดเหนือผู้เป็นพระอุปัชณาย์ของพระองค์ก็ไม่ทรงคุ้นเคยมาก่อนความรู้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องวัดก็ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกันนอกจากการไปวัดในงานเทศกาลการไปทำบุญที่วัดกับ
พรรษาแรกแห่งชีวิตพรหมจรรย์ณวัดเทวสังฆารามเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังไม่ได้เล่าเรียนอะไรมีแต่ท่องสามเณรสิกขา(คือข้อพึงป
|
|||||||||||||||