TBS234
พระบูชา พระพุทธสิงห์แซ่ วัดป่าแดงหลวง
หน้าตัก 5 นิ้ว ( เนื้อทองเหลืองสนิมเขียว )
ตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ประวัติ พระพุทธสิงห์เเซ่ วัดป่าเเดงหลวง
พระพุทธสิงห์เเซ่
ขุดพบเมื่อปี พ.ศ.2500
สถานที่พบเป็นเมืองโบราณในอดีตอยู่ด้านทิศเหนือมีแม่น้ำรวกกั้นเป็นเขตเเดนระหว่างไทยกับพม่าต่อกัน
มีภูเขาลูกหนึ่งตั้งอยู่เขตฝั่งพม่า มีเจดีย์องค์หนึ่งชื่อว่าเจดีย์ยน
หรือ (เจดีย์โยนกโบราณ) นามชื่อเมืองเชียงแสนในอดีต
สร้างสมัยใดมิได้ปรากฏหลักฐาน จากภูเขาดอยยนมาทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 800
เมตร ข้ามลำน้ำรวกเขตฝั่งไทย ริมฝั่งแม่น้ำมีวัดร้างอยู่แห่งหนึ่ง
ได้มีชาวบ้านไปทำไร่ทำนา ได้ใช้จอบขุดดินเกิดไปกระทบกับวัตถุชนิดหนึ่ง
จึงได้ขุดลงไปพบกับพระพุทธรูปจำนวนมาก ทั้งองค์ใหญ่และองค์เล็กๆ
ซึ้งได้ขุดพบพระพุทธรูปสำริดศิลปะล้านนาเชียงแสนหน้าตัก กว้าง 86 ซม.
ฐานกว้าง 100ซม. สูงรวมฐาน 125ซม. ได้นำพระพุทธรูปมาไว้ที่วัด ซึ่งมี นายถา
บัวรวย เป็นผู้นำหมู่บ้าน และประชาชนทั่วไปได้พร้อมใจกันนำพระพุทธรูป
ถวายไว้เป็นสมบัติของวัดป่าแดงหลวง ได้นำมาถวายไว้ที่วัดในวันเสาร์ที่ 24
เดือนมีนาคม พศ 2500 ตรงกับเดือน 6 เหนือแรม 9 ค่ำ ต่อมาประมาณปีพศ 2512
เจ้าอาวาสและชาวบ้านได้พร้อมใจกันบูรณะซ่อมแซมองค์พระพุทธสิงห์แซ่ที่ชำรุดตรงข้อศอกด้านขวาและส่วนอื่นๆ
ให้คงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
เหตุที่ได้นามว่า (พระพุทธสิงห์เเซ่)
ก็เพราะว่าองค์พระเป็นแบบพระพุทธสิหิง
ปางมารวิชัยมีชายสังฆาฏิยาว มีมุดหรือสลักตามจุดต่างๆอยู่ทั่วองค์พระ
เหตุที่มีสลักมากนั้น ด้วยเพราะการสร้างพระพุทธรูปสมัยโบราณ
ได้สร้างแบบแยกเป็นส่วนๆ แล้วนำมาประกอบเป็นองค์พระ
โดยใช้สลักยึดติดกันไว้มีจำนวนมาก ภาคเหนือเรียกสลักนั้นว่า "แซ่"
ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า พระพุทธสิงห์แซ่ ในทุกๆปี ทางวัดได้จัดงานประเพณีสรงน้ำพระ ประจำปี จัดในเดือน 6 เหนือ แรม 8 ค่ำของทุกปี
คำบูชาพระพุทธสิงห์เเซ่
ตั้งนะโม 3 จบ
อิมัสสะมิง อาราเม ปฏิธิตัง อิมัง พุทธะลักขะณะ สัมปันนัง สิหิง สะนานัง พุทธะรูปัง สีเสนะมัยหัง ปะณะมามิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา